World Wide
TH | EN

เคล็ดไม่ลับวิธีป้องกันแผลกดทับ

ใหม่
25 กันยายน 2563
แชร์


เมื่อพูดถึงแผลกดทับมักพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง เมื่อผิวหนังที่บอบบางถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังได้อย่างสะดวกส่งผลให้เกิดรอยแดงและเกิดความอับชื้นสูง

ซึ่งแผลกดทับนั้นอาจเกิดบริเวณปุ่มกระดูกบนร่างกาย อาทิ เช่น ก้นกบ บริเวณด้านข้างสะโพก ด้านข้างข้อศอกและข้อเข่า ส้นเท้า ตามตุ่ม ไปจนถึงใบหู หรือ ศีรษะด้านหลัง หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อและเสียชีวิตได้ครับ  
สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับเกิดจากเมื่ออายุของผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นผิวหนังจะบางลงทำให้ชั้นใต้ผิวหนังไขมันลดลง
มีความยืดหยุ่นลดลง แรงถดถอยลดลง พร้อมกับการเคลื่อนไหวที่ช้าลงเช่นกัน สำหรับบางรายที่มีการทานอาหารได้น้อยลงทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนก่อให้เกิดเนื้อเยื่ออ่อนแอทำให้แผลหายยาก

บางครั้งเกิดอาการบวมที่เกิดจากการขัดขวางการลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้เกิดแผลกดทับได้ ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ป่วยที่เกิดจากภายในร่างกาย แต่กรณีจากภายนอกที่ส่งเสริม เกิดจากแรงเสียดทาน การลื่นไถล หรือมีแรงกดโดยตรงบริเวณปุ่มกระดูกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

วันนี้ยูกิมีเคล็ดลับดีๆที่ผู้ดูแลสามารถเรียนรู้และเข้าใจเทคนิคการป้องกันการดูแลแผลกดทับมาฝากกันครับ

⭐ การจัดท่านอนให้ผู้ป่วย ⭐ 
           
เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ทำให้นอนอยู่บนเตียงหลายชั่วโมง ผู้ดูแลควรจัดท่านอนใหม่ให้กับผู้ป่วยอย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อให้ส่วนหนึ่งไม่รับแรงกดนานจนเกินไป หรือ จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายแล้วตะแคงซ้าย-ขวา สลับกันไปครับ การจัดท่านอนให้ศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา (หลังจากให้อาหาร 30 – 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศาเท่าเดิมเพื่อลดแรงเฉือนต่อผิวนั่นเอง) หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุกๆ 1 ชั่วโมง **ผู้ดูแลอาจใช้หมอนข้างนิ่มๆมาแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อศอก หัวเข่า ตาตุ่ม สะโพก หรือ ก้นกบ (ซึ่งจุดเหล่านี้เป็นจุดที่เกิดแผลกดทับได้ง่าย)


⭐ การใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ ⭐
               

ผู้ดูแลสามารถหาอุปกรณืที่สามารถช่วยลดแรงกดทับเสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆ (ขึ้นอยู่กับขนาดตัวผู้ป่วย), เตียงลม, เบาะเจลที่ใช้กับศีรษะและข้อเท้า สินค้าเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ง่ายด้วยราคาย่อมเยาว์ครับ

⭐ การดูแลผิวหนังให้ผู้ป่วย ⭐
           
สำหรับผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้งควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นเนื่องจากจะทำให้ผิวแห้งแตกง่ายมากขึ้น หลังทำความสะอาดร่างกายควรทาโลชั่น 2-3 ครั้งต่อวันเพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง
           
ในกรณีผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการขับถ่ายและซับให้แห้ง อาจทาวาสลีนหรือยาถนอมสภาพผิวที่บริเวณผิวหนังรอบๆทวารหนัก แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้นและป้องกันสิ่งปฏิกูลระคายเคืองผิว หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดประคบบริเวณผิวหนังที่มีความรู้สึกน้อยเนื่องจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผิวได้ง่าย รวมไปถึงการนอนทับตะเข็บเสื้อและปมผูกต่างๆ เพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนังด้วยนะครับ


⭐ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง ⭐
               
หากผู้สูงวัยมีภาวะนอนติดเตียงน้ำหนักมากหรือมีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายควรหาเครื่องทุ่นแรงอาจเป็นผ้ายกตัวหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าทางบนเตียง เน้นว่าควรใช้แรงในการยกไม่ควรใช้วิธีลากไม่ควรเคลื่อนย้ายตามลำพังหากเกินกำลังอาจบาดเจ็บต่อตัวผู้ดูแลเองรวมถึงผู้สูงวัยได้ครับ


⭐ โภชนาการสำคัญยิ่ง ⭐
               

หากผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อย หรือ ต้องรับประทานอาหารผ่านทางสายยาง รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันอิ่มตัว หรือ ชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง การให้สารวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องศึกษาและควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากสภาวะโภชนาการดีทำให้มีโอกาสเกิดแผลน้อยลงและฟื้นตัวไวครับ


ยูกิหวังว่าทุกท่านสามารถนำเทคนิคดีๆไปเป็นแนวทางในการดูแลรักษาเบื้องต้นและทำให้เกิดความมั่นใจในการดูแลสุขภาพที่ดีของผู้สูงวัยที่ท่านรักนะครับ รวมไปถึงการปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้แผลลุกลามมากขึ้นครับ

เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น การใช้งามเว็บไซต์นี้ เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้บริษัทใช้คุกกี้และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Welcome to “Paramount Bed Experience Thailand”